หน้าหลัก

พระศิลาดำ

  • พิมพ์

 

พระศิลาดำ  ( ต้นพิมพ์พระรอดลำพูน  )

                                                                                                              นายจารุพงศ์   พลเดช

                                                                                                          ประธานมูลนิธิเพื่อลิงลพบุรี

                             พระศิลาเป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาราคีฬี  สลักด้วยหินชนวนดำ  ฝีมือช่างปาละของอินเดีย และสลักตามคติเดิมแบบอินเดีย พุทธลักษณะคือ ประทับยืนเยื้องพระองค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม   พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างที่หมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัย  พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย ปัจจุบันประดิษฐานคู่กับพระเสตังคมณี  (  พระแก้วขาว ) ภายในวิหาร  วัดเชียงมั่น อ. เมือง  จ.เชียงใหม่

                             จากตำนานเล่าว่า  พระอาชาติศัตรูราช   ผู้ครองเมืองราชคฤห มี

พระประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปหลัง พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จปรินิพานไปได้    7  ปี   

7  เดือน   7  วัน และได้นำเอาหินอ่อนจากท้องมหาสมุทร มาสร้าง พร้อมทั้งกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ  7  พระองค์เสด็จเข้าสถิตในพระพุทธรูปศิลา  และในขณะนั้นพระพุทธรูปศิลาได้แสดงอิทธิฤทธิ์โดยลอยขึ้นไปในอากาศในทันทีทำให้มีพระอาชาติศัตรูราช   มีพระราชศรัทธา มาก  จึงได้ตั้งไว้ในที่สูงเพื่อสักการบูชา  ต่อมามีพระสงฆ์  สามรูป นามว่า สีละวังโส   เรวะโต   และญานคัมภีระเถระ ได้ไปนมัสการพร้อมทั้งขออัญเชิญมายังนครหริภุญชัย( จังหวัดลำพูน  ) โดยมาหยุดยั้งที่เมืองนครลำปางอยู่หลายสมัย  ในยุคที่พระนางเจ้าจามเทวี ทรงรบกับขุนหลวงมะลังคะ นั้นได้ทรงมีการจัดสร้างพระ โดยจำลองมาจากพระศิลา  ( ซึ่งปัจจุบันค้นพบว่าเป็นพระรอดลำพูนนั่นเอง   ) เพื่อสร้างกำลังใจแก่ชาวเมืองในการสู้รบ   ต่อมาพระเจ้าติโลกราช  เมืองเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระศิลามาประดิษฐานที่วัดป่าแดง  วัดหมื่นสาร  วัดสวนดอก   และวัดเชียงมั่นจนถึงปัจจุบัน

 

 ปีใดที่ฝนแล้งจะมีการอัญเชิญพระศิลามาสรงน้ำเพื่อทำพิธีขอฝนซึ่งก็สำเร็จทุกครั้ง